วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์

สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
                 สารอินทรีย์  หมายถึง สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบร่วม เช่น ธาตุ H , O, N, P, S, Cl, และ Br  เป็นต้น ดังนั้นสารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุ C  อยู่ด้วยเสมอ จึงกล่าวได้ว่าสารอินทรีย์ คือสารประกอบของคาร์บอน เดิมนักเคมีเชื่อว่าสารอินทรีย์จะต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น อาจจะเกิดอยู่ในธรรมชาติหรือสังเคราะห์จากสารอินทรีย์ด้วยกันแต่จะสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ไม่ได้จนกระทั่งประมาณปี ค.. 1776  Carl Wilhelm Scheele นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนจึงสามารถจึงวิเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ได้โดยการเตรียมกรดออกซาลิกจากปฏิกิริยาระหว่างกรดไนตริกเข้มข้นกับน้ำตาลอ้อย แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันมากนัก   
น้ำตาลอ้อย  กรดไนตริก(เข้มข้น)     =    กรดออกซาลิก
                       สารอนินทรีย์                  สารอินทรีย์
        ต่อมาในปี ค.. 1828 ฟรีดริช เวอเลอร์ (Fridrich Wohler) นักเคมีชาวเยอรมันจึงสามารถเตรียมยูเรียซึ่งเป็นสารอินทรีย์ จากการเผาแอมโมเนียมไซยาเนต ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ได้ดังนี้
NH4CNO      =         NH2 - CO - NH2
                                        แอมโมเนียมไซยาเนต                     ยูเรีย
ยูเรียเป็นสารอินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่พบในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม   ส่วนแอมโมเนียมไซยาเนตเป็นสารอนินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
        จากการที่เวอร์เลอร์    สามารถเตรียมยูเรียจากสารอนินทรีย์ได้  ทำให้เริ่มยอมรับกันว่าสารอินทรีย์สามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ได้ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ในห้องปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมาก  นักเคมีจึงเชื่อว่าสารอินทรีย์นอกจากจะมีอยู่ในธรรมชาติ   และในสิ่งมีชีวิตแล้วยังสามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ซึ่งได้จากสิ่งไม่มีชีวิตด้วย    สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ    และถึงแม้ว่าสารอินทรีย์ไม่จำเป็นที่จะต้องได้จากสิ่งมีชีวิตแต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงได้จากสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันได้ค้นพบสารอินทรีย์แล้วมากกว่า  ล้านชนิด และในแต่ละวันยังมีการค้นพบสารใหม่อีกอย่างสม่ำเสมอ
การจำแนกประเภทของสารอินทรีย์
 -ไฮโดรคาร์บอน   หมายถึง      สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น
 -อะลิฟาติก (aliphatic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนไม่ได้ต่อกันเป็นวงหรือ เรียกว่าต่อกันแบบโซ่เปิด อาจเป็นโซ่ตรง หรือโซ่กิ่ง และมีได้ทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่และพันธะสาม
 -อะลิไซคลิก (alicyclic)  หมายถึงสารอินทรีย์ที่คาร์บอนต่อกันเป็นวง
 -อะโรมาติก (aromatic) หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นวงโดยมีวงแหวนเบนซีนเป็นโครงสร้างหลัก เช่น โทลูอีน
 -อนุพันธ์ของไฮโดรคาร์บอน (derivative     of      hydrocarbon)หมายถึง สารประกอบที่เกิดจากอะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุ เข้าไปแทนที่  H  ในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  ได้แก่
 -แอลกอฮอล์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่  -OH เกิดจาก H  ในไฮโดรคาร์บอนถูกแทนที่ด้วย -OH  เช่น  CH3-OH
 -ฟีนอล หมายถึง สารประกอบอะโรมาติกที่มีหมู่  -OH ต่ออยู่กับ  C  ในวงแหวนเบนซีน  เช่น  C6H5-OH
 -อีเทอร์  หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง  R - C - O - C - R  อาจเป็นสารอะลิฟาติกหรืออโรมาติกก็ได้  เช่น  CH3 - O - CH3
 -แอดีไฮด์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้าง -CHO อยู่ในโมเลกุล   เช่น CH3-CHO ,      H-CHO  เป็นต้น
 -กรดอินทรีย์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -COOH อยู่ในโมเลกุล เช่น H-COOH , CH3-COOH
 -เอสเทอร์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น  RCOOR’  เช่น  CH3COOCH3 , CH3COOC2H5  เป็นต้น
 -เอมีน  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น  CH3 - NH2 , C2H5 - NH2
 -เอไมด์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่  -CO.NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น  H - CONH2 , CH3-CONH2
 -แฮไลด์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีเฮโลเจนอยู่ในโมเลกุล เช่น CH3-I , C2H5Cl
          สารอนินทรีย์  หมายถึง สารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำนวนมากเช่น S, O, Cl, Na, Mg, Al และ C  เป็นต้น เช่น H2SO4 , NaCl ,  K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O   เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น